มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : Ubon Ratchathani University
 นักศึกษา    บุคลากร    ศิษย์เก่า   UBU English      




ม.อุบลฯ เดินหน้าเตรียมความพร้อมบัณฑิตศึกษา การใช้ AI ในการทำวิจัย การเขียนบทความ และการนำเสนองานวิจัย


โพสต์โดย : ทิพย์วรรณ เวฬุวนาธร     วันที่ 5 กันยายน 2567 , 22:48:31     (อ่าน 250 ครั้ง)  



ม.อุบลฯ เดินหน้าเตรียมความพร้อมบัณฑิตศึกษา

“การใช้ AI ในการทำวิจัย การเขียนบทความ และการนำเสนองานวิจัย”

--------------------------------------------------

           มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย งานมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตร กองบริการการศึกษา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 หัวข้อ “การใช้ AI ในการทำวิจัย การเขียนบทความ และการนำเสนองานวิจัย” ในระหว่างวันที่ 5 - 6 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุม UBU 1405 ชั้น 4 สำนักงานอธิการบดี 1 ให้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ ผู้เกี่ยวข้อง และผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรมจำนวนมาก โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชุตินันท์  ประสิทธิ์ภูริปรีชา อธิการบดี เป็นประธาน และ ดร.ศิริรา  ดอนสมัคร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์การจัดโครงการครั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้สนใจเข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจแนวคิด หลักการ และเทคนิคการวิจัย และการส่งเสริมให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีสามารถดำเนินการวิจัยและศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามระยะเวลาที่กำหนดต่อไป

           ดร.ศิริรา  ดอนสมัคร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กล่าวว่า การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ AI ในการทำวิจัย การเขียนบทความ และการนำเสนองานวิจัย รวม 2 วัน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ระพีพันธ์  ปิตาคะโส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ถนัดกิจ  ศรีโชค และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรเจษฐ์  ก้อนจันทร์ เป็นวิทยากรบรรยายและเป็นวิทยากรประจำกลุ่ม วันแรกเป็นการอบรมเกี่ยวกับเรื่อง • Introduction to the Course: Welcome and Course Objectives • Overview of the Research Article Writing Process • Selecting a Title that Captures Your Research Topic และการบรรยายเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Generating Introduction Paragraphs with ChatGPT พร้อมทั้งการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมกลุ่ม Crafting an Effective Abstract และการสัมมนา แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และปัญหาข้อสงสัยของผู้ประกอบการ และในวันที่สอง เป็นการบรรยายเรื่อง Recap of Day 1 and Q&A Session และเรื่องบรรยาย Developing the Methodology Section จากนั้นเป็นการแบ่งกลุ่มเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และแลกเปลี่ยนเรียนรู้  Using ChatGPT to Write the Results Section ต่อด้วยการบรรยาย เรื่อง Generating the Conclusion with ChatGPT แบ่งกลุ่มเชิงปฏิบัติการ (Workshop) กิจกรรม Integrating Figures and Tables into the Article และแบ่งกลุ่มเชิงปฏิบัติการ (Workshop) กิจกรรม Discussion on Best Practices and Common Pitfalls in Using ChatGPT for Writing ทั้งนี้ งานมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตร ตระหนักถึงการนำ Generative AI มาใช้ประโยชน์ในการทำวิจัย รวมถึงการเขียนบทความวิชาการและการนำเสนอทางวิชาการ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรสามารถดำเนินการวิจัยได้สำเร็จลุล่วง และสามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด

          ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีสมรรถนะสูงและพัฒนาการเรียนรู้สำหรับคนทุกช่วงวัย โดยมีเป้าประสงค์ ในการผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะสูง ตรงความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศหรือผู้ประกอบการ โดยจัดการศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา มุ่งให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษา และมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากล เน้นการพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพที่มีความรู้ ความสามารถระดับสูงในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยกระบวนการวิจัยเพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ ได้อย่างมีอิสระ รวมทั้งมีความสามารถในการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ เชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์ที่ตนเชี่ยวชาญกับศาสตร์อื่นได้อย่างต่อเนื่อง  

-----------------------------------------------

ทิพย์วรรณ  เวฬุวนาธร นักประชาสัมพันธ์ ชำนาญการ ม.อุบลฯ ภาพ/ข่าว




SDG Hashtag :

Tag อื่นๆ :